วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554

ทัศนศึกษาเกาะกงประเทศกัมพูชา

     สมาชิกสภาจังหวัดบุรีรัมย์นำโดย สจ.ศิริรัตน์  วิชาเลิศเรืองเดชพาคณะครู เยี่ยมชมเกาะกง    ประเทศกัมพูชา
                 บริเวณโรงแรมที่พักและแหล่งกาสิโนในจังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชา
                  ชายหาดบริเวณด้านหลังโรงแรมเกาะกง น้ำใส หาดทรายสะอาด

                   กราบนมัสการรูปปั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดจันทบุรี



ศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี

กิจกรรมวันแม่

                        การแสดงของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่1-2 แสดงความสามารถ
                        ให้คุณแม่ได้ชื่นชมลูกๆคนเก่งเนื่องในวันแม่แห่งชาติ

                                           ฟ้อนรำอย่างอ่อนช้อย

กราบที่ตักคุณแม่งามๆ

การพัฒนาคน-คุณภาพการศึกษา"ต้องพัฒนาครู"

      ปัจจัยที่จะแข่งขันได้ คือ มาตรฐานและคุณภาพ

คนเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของการพัฒนางานทั้งปวงเพราะฉะนั้นคนจึงต้องพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพ  โดยอาศัยการพัฒนาภูมิปัญญาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่านการศึกษาในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย ตรงนี้คือกุญแจสำคัญของการพัฒนาตนเองโดยที่คนๆนั้นจะต้องเป็นคนที่ ใฝ่รู้ใฝ่เรียนอยู่ตลอดเวลา
จากการปฏิรูปการศึกษารอบแรกมาสู่รอบสองได้พูดไว้ชัดเจนว่า ให้จัดการศึกษาโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ มุ่งให้เด็กเกิดการเรียนรู้ในตัวเอง ไม่ใช่สอนเพื่อครูรู้ แต่สอนให้เด็กรู้ ขณะเดียวกันครูจะต้องพัฒนาตัวเองในด้านคุณภาพการเรียนการสอน จากระบบเดิมที่เป็นการให้ท่องจำ ไม่ค่อยมีการฝึกให้เด็กคิดวิเคราะห์ และไม่ค่อยให้เด็กศึกษาค้นคว้าเป็นอิสระเพียงพอ ก็จะต้องปรับ เรียกว่า ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน บทบาทของครูที่เคยมีหน้าที่บอกความรู้ก็ต้องเปลี่ยน ปัจจุบันนี้ครูควรแสดงบทบาทในฐานะผู้เอื้ออำนวยในเกิดการเรียนรู้ในตัวเด็ก จะต้องรู้เรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา เพราะการประกันคุณภาพกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะใช้เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอน เพิ่มประสิทธิภาพการสอนโดยใช้การวิจัยการสอน หรือการวิจัยในชั้นเรียนในเรื่องเกี่ยวกับการเรียนการสอนระหว่างครูกับเด็ก  และให้นำผลวิจัยมาใช้ในการเรียนการสอน สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็ก รวมถึงการบริหารจัดการด้วย ในโลกยุคนี้เป็นยุคที่เทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทเสริมการศึกษาเป็นอย่างมาก  ดังนั้น ครูจะต้องถือว่าเทคโนโลยีเหล่านี้สำคัญต้องใช้เป็นและสามารถทำงานกับคอมพิวเตอร์ ดังนั้น คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีจึงกลายเป็นอุปกรณ์สำคัญในการศึกษาสมัยใหม่
การแก้ปัญหาในเรื่องการปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนของครูนั้นเป็นเรื่องสำคัญและเร่งด่วนที่จะต้องทำแต่ครูส่วนใหญ่ยังทำไม่ได้เพราะการให้การอบรมครูที่ผ่านมาและที่ทำอยู่ในปัจจุบันยังไม่ได้ผล ปัญหาอยู่ที่ 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายครูของครู  และฝ่ายครู เมื่อครูอ่อนด้อยในเรื่องใด คนที่จะไปพัฒนาต้องเป็นคนที่เก่งในเรื่องนั้นจริง แต่มีปัญหาว่าครูของครูส่วนหนึ่งไม่ได้จัดการเรียนการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว อีกส่วนหนึ่งไม่รู้จักวิธีการฝึกอบรม รู้จักแต่วิธีสอน ซึ่งวิธีการฝึกอบรมเป็นวิธีการที่นำความรู้ไปปฏิบัติให้เกิดผลได้ เพราะฉะนั้นในตัวหลักสูตรฝึกอบรมต้องมีการฝึกปฏิบัติเพื่อจะดูว่าทำได้จริงหรือไม่ไม่ใช่เป็นเพียงการบรรยายอย่างเดียวเพราะหัวใจของการพัฒนาการศึกษาอยู่ที่ครูประจำการทั่วประเทศที่มีจำนวนกว่า 6 แสนคน เพราะฉะนั้นต้องหาจุดอ่อนให้ได้ การฝึกอบรมต้องมุ่งไปสู่การแก้จุดอ่อน ไม่ใช่เป็นการทำแบบดารดาษ วิธีการฝึกอบรมเพื่อให้ได้ผลต้องดูความต้องการของผู้รับการฝึกอบรมที่เรียกว่า  training need และใช้ความต้องการของผู้รับการฝึกอบรมเป็นตัวตั้งและนำมาผนวกกับความต้องการปฏิรูปการศึกษารอบสองแล้วสร้างเป็นหลักสูตรการฝึกอบรมจัดทำประมวลสาระ คู่มือสร้างสื่อและมีการจัดโปรแกรมฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เรื่องใดที่มีการฝึกปฏิบัติมากก็ปฏิบัติให้มาก นอกจากนี้ยังมีปัญหาสำคัญคือ ตัววิทยากร ซึ่งในอดีตที่ผ่านมานิยมเชิญคนดังที่มีชื่อเสียงมาบรรยาย ซึ่งเขาจะพูดในสิ่งที่อยากพูด และสิ่งที่เขามีความถนัดเชี่ยวชาญ แต่อาจจะไม่ตรงกับความต้องการของการปฏิรูปการศึกษาและไม่ตรงกับความต้องการของครูจึงทำให้การฝึกอบรมไม่เกิดผลสัมฤทธิ์
สำหรับแนวทางการบริหารการศึกษาของผู้บริหารนอกจากจะมีความรอบรู้ ภาวะผู้นำและกระบวนการจัดองค์การบริหารแล้วยังไม่เพียงพอต้องมีความสามารถในเรื่องการบริหารในภาวะวิกฤติการบริหารเพื่อการเปลี่ยนแปลงการบริหารในภาวะขัดแย้ง คือ การบริหารจัดการแนวใหม่ที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารยุคนี้
โลกยุคนี้เป็นโลกคลื่นลูกที่สี่ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันสูงมาก สิ่งที่เป็นปัจจัยที่จะแข่งขันได้ คือ มาตรฐานและคุณภาพนี่เอง คือ สิ่งที่ต้องปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาการศึกษา  พัฒนาคน  เพื่อเข้าสู่คลื่นลูกที่สี่

ที่มา: อ้างอิงจาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ฉบับวันที่ 21 มีนาคม 2554 โดย ศาสตราจารย์  ดร.วิจิตร   ศรีสะอ้าน