วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

จัดสัมมนาไอยรารีสอร์ท

29 พฤษภาคม 2554 ถ่ายภาพร่วมกับเพื่อนๆนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ในวันสัมมนาที่ไอยรารีสอร์ท

                รับวุฒิบัตรการสัมมนา กับดร.เผ่าพงศ์พัฒน์  บุญกะนันท์ ที่ไอยรารีสอร์ท

         ตอนเย็นร่วมงานสังสรรค์กับเพื่อนๆนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

                                   เข้าแถวรายงานตัวและรับเอกสารการสัมมนา

ปฐมนิเทศนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนปีการศึกษา2554

   วันที่ 26 พฤษภาคม 2554 โรงเรียนวัดบุปผาราม โดยมี ผู้อำนวยการสุพจน์  ฝาคำ และนายวิชัย  แสงตันชัย  ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานได้ประชุมผู้ปกครอง นักเรียนประจำปีการศึกษา2554
             วันที่ 26 พฤษภาคม 2554 หลังจากปฐมนิเทศแล้วโรงเรียนวัดบุปผารามได้จัดกิจกรรมสนทนาศิษย์-ลูกผู้ปกครองเข้าพบปะสนทนากับครูประจำชั้นของนักเรียนเกี่ยวกับการเรียนและพฤติกรรมของ   นักเรียน

 อบรมครูและผู้ปกครองนักเรียนปฐมวัยวันที่10 มิถุนายน 2554 ที่ศูนย์ร่มโพธิ์แก้ว อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์

วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554

ทัศนศึกษาเกาะกงประเทศกัมพูชา

     สมาชิกสภาจังหวัดบุรีรัมย์นำโดย สจ.ศิริรัตน์  วิชาเลิศเรืองเดชพาคณะครู เยี่ยมชมเกาะกง    ประเทศกัมพูชา
                 บริเวณโรงแรมที่พักและแหล่งกาสิโนในจังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชา
                  ชายหาดบริเวณด้านหลังโรงแรมเกาะกง น้ำใส หาดทรายสะอาด

                   กราบนมัสการรูปปั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดจันทบุรี



ศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี

กิจกรรมวันแม่

                        การแสดงของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่1-2 แสดงความสามารถ
                        ให้คุณแม่ได้ชื่นชมลูกๆคนเก่งเนื่องในวันแม่แห่งชาติ

                                           ฟ้อนรำอย่างอ่อนช้อย

กราบที่ตักคุณแม่งามๆ

การพัฒนาคน-คุณภาพการศึกษา"ต้องพัฒนาครู"

      ปัจจัยที่จะแข่งขันได้ คือ มาตรฐานและคุณภาพ

คนเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของการพัฒนางานทั้งปวงเพราะฉะนั้นคนจึงต้องพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพ  โดยอาศัยการพัฒนาภูมิปัญญาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่านการศึกษาในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย ตรงนี้คือกุญแจสำคัญของการพัฒนาตนเองโดยที่คนๆนั้นจะต้องเป็นคนที่ ใฝ่รู้ใฝ่เรียนอยู่ตลอดเวลา
จากการปฏิรูปการศึกษารอบแรกมาสู่รอบสองได้พูดไว้ชัดเจนว่า ให้จัดการศึกษาโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ มุ่งให้เด็กเกิดการเรียนรู้ในตัวเอง ไม่ใช่สอนเพื่อครูรู้ แต่สอนให้เด็กรู้ ขณะเดียวกันครูจะต้องพัฒนาตัวเองในด้านคุณภาพการเรียนการสอน จากระบบเดิมที่เป็นการให้ท่องจำ ไม่ค่อยมีการฝึกให้เด็กคิดวิเคราะห์ และไม่ค่อยให้เด็กศึกษาค้นคว้าเป็นอิสระเพียงพอ ก็จะต้องปรับ เรียกว่า ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน บทบาทของครูที่เคยมีหน้าที่บอกความรู้ก็ต้องเปลี่ยน ปัจจุบันนี้ครูควรแสดงบทบาทในฐานะผู้เอื้ออำนวยในเกิดการเรียนรู้ในตัวเด็ก จะต้องรู้เรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา เพราะการประกันคุณภาพกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะใช้เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอน เพิ่มประสิทธิภาพการสอนโดยใช้การวิจัยการสอน หรือการวิจัยในชั้นเรียนในเรื่องเกี่ยวกับการเรียนการสอนระหว่างครูกับเด็ก  และให้นำผลวิจัยมาใช้ในการเรียนการสอน สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็ก รวมถึงการบริหารจัดการด้วย ในโลกยุคนี้เป็นยุคที่เทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทเสริมการศึกษาเป็นอย่างมาก  ดังนั้น ครูจะต้องถือว่าเทคโนโลยีเหล่านี้สำคัญต้องใช้เป็นและสามารถทำงานกับคอมพิวเตอร์ ดังนั้น คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีจึงกลายเป็นอุปกรณ์สำคัญในการศึกษาสมัยใหม่
การแก้ปัญหาในเรื่องการปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนของครูนั้นเป็นเรื่องสำคัญและเร่งด่วนที่จะต้องทำแต่ครูส่วนใหญ่ยังทำไม่ได้เพราะการให้การอบรมครูที่ผ่านมาและที่ทำอยู่ในปัจจุบันยังไม่ได้ผล ปัญหาอยู่ที่ 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายครูของครู  และฝ่ายครู เมื่อครูอ่อนด้อยในเรื่องใด คนที่จะไปพัฒนาต้องเป็นคนที่เก่งในเรื่องนั้นจริง แต่มีปัญหาว่าครูของครูส่วนหนึ่งไม่ได้จัดการเรียนการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว อีกส่วนหนึ่งไม่รู้จักวิธีการฝึกอบรม รู้จักแต่วิธีสอน ซึ่งวิธีการฝึกอบรมเป็นวิธีการที่นำความรู้ไปปฏิบัติให้เกิดผลได้ เพราะฉะนั้นในตัวหลักสูตรฝึกอบรมต้องมีการฝึกปฏิบัติเพื่อจะดูว่าทำได้จริงหรือไม่ไม่ใช่เป็นเพียงการบรรยายอย่างเดียวเพราะหัวใจของการพัฒนาการศึกษาอยู่ที่ครูประจำการทั่วประเทศที่มีจำนวนกว่า 6 แสนคน เพราะฉะนั้นต้องหาจุดอ่อนให้ได้ การฝึกอบรมต้องมุ่งไปสู่การแก้จุดอ่อน ไม่ใช่เป็นการทำแบบดารดาษ วิธีการฝึกอบรมเพื่อให้ได้ผลต้องดูความต้องการของผู้รับการฝึกอบรมที่เรียกว่า  training need และใช้ความต้องการของผู้รับการฝึกอบรมเป็นตัวตั้งและนำมาผนวกกับความต้องการปฏิรูปการศึกษารอบสองแล้วสร้างเป็นหลักสูตรการฝึกอบรมจัดทำประมวลสาระ คู่มือสร้างสื่อและมีการจัดโปรแกรมฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เรื่องใดที่มีการฝึกปฏิบัติมากก็ปฏิบัติให้มาก นอกจากนี้ยังมีปัญหาสำคัญคือ ตัววิทยากร ซึ่งในอดีตที่ผ่านมานิยมเชิญคนดังที่มีชื่อเสียงมาบรรยาย ซึ่งเขาจะพูดในสิ่งที่อยากพูด และสิ่งที่เขามีความถนัดเชี่ยวชาญ แต่อาจจะไม่ตรงกับความต้องการของการปฏิรูปการศึกษาและไม่ตรงกับความต้องการของครูจึงทำให้การฝึกอบรมไม่เกิดผลสัมฤทธิ์
สำหรับแนวทางการบริหารการศึกษาของผู้บริหารนอกจากจะมีความรอบรู้ ภาวะผู้นำและกระบวนการจัดองค์การบริหารแล้วยังไม่เพียงพอต้องมีความสามารถในเรื่องการบริหารในภาวะวิกฤติการบริหารเพื่อการเปลี่ยนแปลงการบริหารในภาวะขัดแย้ง คือ การบริหารจัดการแนวใหม่ที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารยุคนี้
โลกยุคนี้เป็นโลกคลื่นลูกที่สี่ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันสูงมาก สิ่งที่เป็นปัจจัยที่จะแข่งขันได้ คือ มาตรฐานและคุณภาพนี่เอง คือ สิ่งที่ต้องปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาการศึกษา  พัฒนาคน  เพื่อเข้าสู่คลื่นลูกที่สี่

ที่มา: อ้างอิงจาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ฉบับวันที่ 21 มีนาคม 2554 โดย ศาสตราจารย์  ดร.วิจิตร   ศรีสะอ้าน

วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการคิดเชิงเหตุผลตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา

จักกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้
ด้วยตนเองโดยช่วยกันปั่นน้ำผลไม้
จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการทำงานกับเพื่อนๆโดยช่วยกัน
ล้างทำความสะอาดอุปกรณ์หลังจากปั่นน้ำผลไม้แล้ว
จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสวิเคราะห์ความรู้สึก ประสบการณ์
ของตนเองขณะเรียนรู้ว่าเกิดความรู้สึกอย่างไร
จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้สรุปสิ่งที่เรียนรู้เกิดขึ้นด้วยตนเอง
ทำให้การเรียนรู้นั้น มีความหมายสำหรับผู้เรียน
จัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ได้
อย่างมีความหมายในชีวิตจริงโดยเด็กๆช่วยกันทำอาหาร
ต้มจืดเต้าหู้ไข่

เด็กๆร่วมกันรับประทานต้มจืดเต้าหู้ไข่อย่างอเร็จอร่อย

ศึกษาดูงานโรงเรียนขนาดเล็ก


สพป.บร.4 นำคณะครูไปศึกษาดูงานโรงเรียนขนาดเล็กที่จัดการเรียนการสอนแบบคละชั้น
ที่โรงเรียนบ้านหนองฮีหนองแคน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

เยี่ยมชมห้องเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1และ 2 ซึ่งจัดการเรียนการสอนแบบคละชั้น


กิจกรรมพัฒนาคุณธรรม-จริยธรรม

คณะครูและนักเรียนโรงเรียนวัดบุปผารามร่วมกันปฏิบัติธรรม
ที่วัดป่านาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อฝึกจิตใจให้มีสมาธิและจิตสงบ

วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สาระน่ารู้

การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ CIPPA
หลักการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ CIPPA ค้นคิดขึ้นโดย รศ.ดร.ทิศนา  แขมมณี  เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆและใช้กระบวนการกลุ่มช่วยในการตรวจสอบความรู้ความเข้าใจ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามองค์ประกอบทั้ง 5  คือ
C – Construct    หมายถึง  การสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยการศึกษาค้นคว้า หาข้อมูล ทำความเข้าใจ คิดวิเคราะห์ แปลความ  ตีความ สร้างความหมาย สังเคราะห์ข้อมูล และสรุปเป็นข้อความรู้ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสติปัญญา
I – Interaction    หมายถึง  การมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อม แลกเปลี่ยน และเรียนรู้ข้อมูล ความคิด ประสบการณ์ ซึ่งกันและกัน เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสังคม
P – Physical  Participation  หมายถึง การมีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวร่างกาย โดยทำกิจกรรมในลักษณะต่างๆเป็นการช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางร่างกาย
P –Process  Learning   หมายถึง การเรียนรู้กระบวนการต่างๆที่เป็นทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น กระบวนการคิด กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการปฏิบัติงานต่างๆที่เป็นขั้นตอน
A –  Application   หมายถึง การนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์จากการเรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงระหว่างทฤษฎีกับการปฏิบัติ นำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆที่หลากหลาย ได้ฝึกฝน พฤติกรรมการเรียนรู้จนเกิดความชำนาญในการที่จะนำความรู้นั้นไปใช้เป็นประจำในชีวิตจริง
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA
1.  การทบทวนความรู้เดิม
      ขั้นนี้เป็นการดึงความรู้เดิมของผู้เรียนในเรื่องที่จะเรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมของตนเอง
2. การแสวงหาความรู้ใหม่
    ขั้นนี้เป็นการแสวงหาข้อมูลความรู้ใหม่ที่ผู้เรียนยังไม่มีจากแหล่งข้อมูลหรือแหล่งความรู้ต่างๆ ซึ่งครูอาจจัดเตรียมมาให้ผู้เรียน หรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลต่างๆเพื่อให้ผู้เรียนไปแสวงหาก็ได้
3. การเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม
ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะต้องศึกษา และทำความเข้าใจกับข้อมูลหรือความรู้ที่หามาได้ผู้เรียนจะต้องสร้างความหมายของข้อมูลหรือประสบการณ์ใหม่ๆโดยใช้กระบวนการต่างๆด้วยตนเอง เช่น ใช้กระบวนการคิด และกระบวนการกลุ่มในการอภิปรายและสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลนั้นๆซึ่งอาจจำเป็นต้องอาศัยการเชื่อมโยงกับความรู้เดิม 
4.  การแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนในกลุ่ม 
ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนอาศัยกลุ่มเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของตนให้กว้างขึ้น
 ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนแบ่งปันความรู้ความเข้าใจของตนแก่ผู้อื่นและได้รับประโยชน์จากความรู้ความเข้าใจของผู้อื่นไปพร้อมๆกัน
5.  การสรุปและจัดระเบียบความรู้
ขั้นนี้เป็นขั้นของการสรุปความรู้ที่ได้รับทั้งหมด ทั้งความรู้เดิมและความรู้ใหม่และจัดสิ่งที่เรียนรู้ให้เป็นระเบียบเพื่อช่วยให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่าย
6.   การแสดงผลงาน
       ขั้นนี้เป็นขั้นที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงผลงานการสร้างความรู้ของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้เป็นการให้ผู้เรียนได้ตอกย้ำหรือตรวจสอบความเข้าใจของตนและช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์
7.   การประยุกต์ใช้ความรู้
      ขั้นนี้เป็นขั้นของการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการนำความรู้ความเข้าใจของตนไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆที่หลากหลายเพื่อเพิ่มความชำนาญ ความเข้าใจ ความสามารถในการแก้ปัญหาและความจำในเรื่องนั้นๆ
 
**************************
ที่มา : อ้างอิงจาก  80 นวัตกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผศ.ดร.ชัยวัฒน์  สุทธิรัตน์

วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้


คณะครูโรงเรียนวัดบุปผาราม อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ได้นำนักเรียนไปทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ที่วัดเขาสุกริม จังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่  28  มกราคม  2554    โดยมีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนได้ร่วมเดินทางไปทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ด้วย

ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเยี่ยมบ้านนักเรียน

                                     
เยี่ยมบ้านนักเรียน วันที่ 13  มกราคม  2554

วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่

  
ปฐมนิเทศนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขา การบริหารการศึกษา  
ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี  รุ่นที่ 3  ห้องเรียนที่ 2 โรงเรียนพุทไธสง
จังหวัดบุรีรัมย์  เมื่อวันที่ 30 มกราคม  2554